เมนู

บทว่า ปุพฺเพว ก่อน ๆ คือละทุกข์โทมนัสและสุขได้ในฌานทั้งสามมี
ปฐมฌานเป็นต้น แล้วละโสมนัสในจตุตถฌานนี้ ได้อุเบกขาและสมถะ
อันหมดด้วยปฏิปทานี้ พึงเที่ยวไปผู้เดียว. บทที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้ว
นั่งเอง.
จบคาถาที่ 3

คาถาที่ 4


34) อารทฺธวิริโย ปรมตฺถปตฺติยา
อลีนจตฺโต อกุสีตวุตฺตี
ทฬฺหนิกฺกโม ถามพลูปปนฺโน
เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป.

พระปัจเจกสัมพุทธจ้าปรารภความเพียร เพื่อบรรลุ
ปรมัตถประโยชน์ มีจิตไม่หดหู่ มีความประพฤติไม่
เกียจคร้าน มีความบากบั่นมั่นคง ถึงพร้อมด้วยกำลังกาย
และกำลังญาณ พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.

พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่ 4 ดังต่อไปนี้.
ชื่อว่า อารทฺธวิริโย เพราะมีความเพียรอัน ปรารภแล้ว. ด้วยบทนี้
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าแสดงถึงความเพียรเบื้องต้น เริ่มด้วยวิริยะของตน.
นิพพานท่านกล่าวว่าปรมัตถ์ เพื่อถึงนิพพานนั้น ชื่อว่าเพื่อถึงปรมัตถ์.
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าแสดงถึงผลที่ควรบรรลุ ด้วยการเริ่มความเพียรนั้น.
ด้วยบทว่า อลีนจิตฺโต มีจิตมิได้ย่อหย่อน พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าแสดง